เก้ง (barking deer)
ชื่อ | เก้ง (barking deer) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Muntiacus vaginalis |
ชื่อวงศ์ | Cervidae |
ชื่ออื่นๆ | อีเก้ง , ฟาน |
ลักษณะทั่วไป | เป็นกวางขนาดเล็ก และมีแขนงเล็ก ๆ แตกออกข้างละสองกิ่ง ตัวเมียไม่มีเขา ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง มีต่อมน้ำตาขนาดใหญ่และแอ่งน้ำตาลึก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวยื่นออกมานอกริมฝีปาก ใช้สำหรับป้องกันตัว ลูกเก้งมีจุดสีขาวตามตัว และจะค่อยจางหายไปเมื่อมีอายุได้ราว 6 เดือนลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนัก 14-18 กิโลกรัม ตัวผู้มีเขาสั้น ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ออกลูกครั้งละ1ตัว |
สถานภาพความชุกชุม | |
ถิ่นอาศัย | ป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบ และป่าเขาในเอเชีย |
การกระจายพันธุ์ | พบในอินเดีย เมียนมา ไทย ลาว และกัมพูชา |
พฤติกรรม | อาศัยอยู่ตามลำพังเกือบทั้งปี บางครั้งหากินเป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 2–3 ตัว อาจรวมเป็นกลุ่มใหญ่ ประมาณ40–80 ตัว มักหากินในตอนเช้าตรู่เวลา ประมาณ 05.00–06.00 น.และตอนเย็น เวลา ประมาณ 17.00–18.00 น. ตัวผู้จะรวมตัวกันในทุ่งหญ้าเปิด ช่วงเที่ยงวันพักผ่อนอยู่ในดงหญ้าสูง ปกติเป็นสัตว์ประจำถิ่นไม่อพยพ เมื่อพบศัตรูจะวิ่งหนี ไม่กระโดด เมื่อรู้สึกถึงอันตรายจะยกหางขึ้นทำให้มองเห็นขนสีขาวได้ เพื่อเตือนตัวอื่น ถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น และมักจะหนีลงน้ำ หรือวิ่งเข้าไปในพุ่มไม้รกมักซุกหัวลงต่ำ ฤดูผสมพันธุ์ ราวเดือนกันยายน–ตุลาคม อาจหากินเป็นฝูงเล็ก ๆ ได้ ราว 12 ตัว ตั้งท้องประมาณ 8 เดือน วัยเจริญพันธุ์อยู่ที่ 2 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว |
ตัว
ขา
ทั่วไป
