กันเกรา

กันเกรา

ชื่อ กันเกรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans
Author name Roxb.
ชื่อวงศ์ GENTIANACEAE
ชื่ออื่นๆ มะตะซู ตำมูซู (มลายู ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร ภาคตะวันออก), ตำเตา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ Tembusu
แหล่งอ้างอิง Tembusu
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบ : เป็นยาแก้ไข้จับสั่น บำรุงธาตุ แก้หืด รักษาโรคผิวหนังพุพอง แก่น : แก้ไข้จับสั่น แก้หืด แก้ไอ แก้ริดสีดวง แก้แน่นอก โลหิตพิการ ช่วยขับลม แก้ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนังและร่างกาย บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 25 เมตร

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : เปลือกสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ มีขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน เส้นแขนงใบ ก้านใบ

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง เป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ เมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีเหลืองอมแสด กลีบโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายแฉกแหลม มีเกสรตัวผู้ยาวติดกับกลีบดอก และมีเกสรตัวเมียยาวอีก 1 อัน

ผล :

คำอธิบาย : ผลเป็นผลเดี่ยวทรงกลม ขนาด 5-8 มม. ปลายผลมีติ่งแหลมสั้นๆ ผลอ่อนสีส้ม เมื่อแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นแดงเลือดนก มีรสขม เมล็ด จำนวนมาก ขนาดเล็ก สีน้ำตาลไหม้

ราก :

คำอธิบาย :

TOP