เสม็ดแดง
ชื่อ | เสม็ดแดง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Syzygium antisepticum |
Author name | (Blume) Merr. & L.M.Perry. |
ชื่อวงศ์ | MYRTACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ไคร้เม็ด (เชียงใหม่ ภาคกลาง) เม็ก (ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ) เสม็ดแดง เสม็ดชุน เสม็ด (สกลนคร สตูล) เสม็ดขาว เสม็ดเขา (ตราด) เม็ดชุน(นครศรีธรรมราช) ขะเม็ก |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | ใบเสม็ดสามารถทานสดเป็นผักเครื่องเคียง เป็นผักทานสด ยอดอ่อนหรือใบอ่อน จะมีรสฝาด มัน อมเปรี้ยว |
สรรพคุณทางยา | ใบ : ตำพอกแก้เคล็ดคัดยอก แก้ฟกช้ำ แก้บวม ยอดอ่อน ทานเป็นผักสด แก้ปวดท้อง ท้องเสีย ช่วยขับลม เนื้อไม้ : ช่วยคลายเส้น คลายกล้ามเนื้อ |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : สีเปลือกออกสีน้ำตาลแดง เปลือกบาง ซ้อนกันหลายๆชั้น
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบออกตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ใบแก่ผิวด้านบนเกลี้ยงมันวาว ใบอ่อนสีน้ำตาลปนชมพู ผิวใบด้านล่างเกลี้ยง มีจุดโปร่งแสงหนาแน่น
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกแบบช่อแยกแขนง ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาว ไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 กลีบ รูปมน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาว 5-10 มิลลิเมตร เกสรเพศเมียมีรังไข่ มีขนละเอียด อยู่ใต้วงกลีบ
ผล : ผลสด
คำอธิบาย : สีขาวขุ่น ผลทรงกลม มีขนาดลเล็ก และออกผลติดกันเป็นพูยาว
ราก :
คำอธิบาย :