เสลดพังพอนตัวเมีย

เสลดพังพอนตัวเมีย

ชื่อ เสลดพังพอนตัวเมีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans
Author name (Burm. f.) Lindau
ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE
ชื่ออื่นๆ ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่), พญาปล้องคำ (ลำปาง), พญาปล้องดำ พญาปล้องคำ พญาปล้องทอง (ภาคกลาง), ลิ้นงูเห่า (จันทบุรี), พญายอ (ทั่วไป), โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ Sabah snake grass
แหล่งอ้างอิง Sabah snake grass
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ทั้งต้น : ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวก ใบ : ใช้กินเป็นยาถอนพิษไข้ ดับพิษร้อน ดับพิษไฟลวกน้ำร้อนลวก
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่มเลื้อย

ลำต้น :

คำอธิบาย : ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว

ใบ :

คำอธิบาย : ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปรีแคบขอบขนาน

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 3-6 ดอก กลีบดอกเป็นสีแดงส้ม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก คือ ปากล่างและปากบน ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนกลีบรองกลีบดอกนั้นเป็นสีเขียว ยาวเท่า ๆ กัน มีขนเป็นต่อมเหนียว ๆ อยู่โดยรอบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน ส่วนเกสรเพศเมียเกลี้ยงไม่มีขน

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมยาวรี ยาวได้ประมาณ 0.5 เซนติเมตร ก้านสั้น ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4 เมล็ด

ราก :

คำอธิบาย :

TOP