เล็บมือนาง

เล็บมือนาง

ชื่อ เล็บมือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum indicum
Author name (L.) DeFilipps
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่นๆ อ้อยช้าง (อุตรดิตถ์), แสมแดง (ชุมพร), เล็บนาว (สตูล), มะจีมั่ง จ๊ามัง จะมั่ง (ภาคเหนือ), นิ้วมือพระนารายณ์ (ใต้), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), วะดอนิ่ง อะดอนิ่ง (มะลายู-ยะลา), เล็บมือนางต้น
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบ : ตำพอกแก้ปวดศรีษะ แก้ไข้ ทั้งต้น : เป็นยาแก้ไอ ราก,ผล และ เมล็ด : เป็นยาขับพยาธิ เมล็ด : เป็นยาถ่าย แก้ไข้ แก้ตกขาว รักษาฝี
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้เลื้อย/ไม้เถา

คำอธิบาย : ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง เลื้อยพาดพันไปกับต้นไม้อื่น

ลำต้น :

คำอธิบาย :

ใบ :

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบรูปมนแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนใบจักเว้าเข้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น แผ่นใบเป็นสีเขียว เนื้อบาง ท้องใบมีขนปกคลุมเป็นจำนวนมาก

ดอก :

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่งหรือยอดของลำต้น ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ช่อดอกเมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาวหรือสีชมพูอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม

ผล :

คำอธิบาย : ผลเป็นรูปกระสวย มีสัน 5 สันตามยาว ผลสุกเป็นสีน้ำตาลอมสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

ราก :

คำอธิบาย :

TOP