ประดู่

ประดู่

ชื่อ ประดู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus
Author name
ชื่อวงศ์ Fabaceae
ชื่ออื่นๆ ดู่ หรือ ดู่ป่า (ภาคเหนือ) ฉะนอง (เชียงใหม่) จิต๊อก (ไทใหญ่-แม่ฮ่องสอน) เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ประดู่ หรือ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่เสน (สระบุรี ราชบุรี)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ ประดู่มีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
สรรพคุณทางยา 1.เปลือกต้นมีรสฝาดจัด มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย 2.ผลมีรสฝาด เป็นยาแก้อาเจียน 3.ใบและดอก ทำให้ฝีสุกเร็ว แก้ผดผื่นคัน น้ำคั้นจากใบใช้สระผม 4.รากและยาง แก้ปากเปื่อย ปากแตก แก้ท้องเสีย แก้โรคบิด
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ลำต้นสูง 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้าอย่างประดู่บ้าน[8]

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : เปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่อง ลึก มีนํ้ายางมาก

ใบ : ใบประกอบ

คำอธิบาย : ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเยื้องสลับกัน 4-10 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนมน

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม มีกลิ่นคล้ายดอกซ่อนกลิ่น ออกเป็นช่อยาว 10-20 เซนติเมตร ตามง่ามใบ ดอกจะออกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่แตกกิ่งก้านแขนงมากอย่างประดู่บ้าน(แต่ดอกจะบานแค่หนึ่งถึงสองวันเท่านั้น)

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ผลมีลักษณะเหมือนรูปโล่แบนบาง ตรงกลางนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร ผลใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก และมีขนปกคลุมทั่วไป การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ราก :

คำอธิบาย : รากหยั่งลึก และแพร่กว้าง ช่วยยึดหน้าดินไม่ให้พังทะลายได้

TOP