ขี้แรด (พันธุ์ไม้ปกปัก)

ขี้แรด (พันธุ์ไม้ปกปัก)

ชื่อ ขี้แรด (พันธุ์ไม้ปกปัก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus taxoides
Author name (B. Heyne ex Roth) Kurz
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่ออื่นๆ กะแตไม้ (ปัตตานี), ข่อยน้ำ (สุโขทัย), ข่อยหนาม (ทั่วไป), ข่อยหยอง (ลำาปาง), ขี้แรด (ใต้), สามพันตา (อุดรธานี), หนามขี้แรด (ใต้)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ -
สรรพคุณทางยา 1.ใช้เป็นยาพอกฝี 2.เปลือก ใช้ทาแผล 3.ควันจากการเผาเปลือกสูดดมแก้หวัด 4.ผงจากเนื้อไม้หรือเปลือก ใช้ทาเหงือกแก้ปวดฟัน 5.ราก เนื้อไม้ และใบ ใช้แก้ไข้ และโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 8 เมตร

ลำต้น : เปลือกเรียบ

คำอธิบาย : มีหนามแหลมตรงเปลือก สีครีมถึงน้ำตาลอ่อน เกลี้ยง

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกระนาบเดียวกับกิ่งหรือออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งข้าง รูปขอบขนานแกมรี รูปไข่แคบหรือไข่กลับ ขอบไม่จักหรือจักละเอียดถึงจักชัดในครึ่งใบ ใบแก่แข็งเนื้อหยาบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านบน หูใบติดทน

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกช่อเชิงลด ดอกเพศผู้และเพศเมียต่างต้น ช่อดอกเพศผู้เป็นช่อกลมแน่นหรือคล้ายช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบ ไม่มีก้านช่อดอกหรือสั้นมาก กลีบรวมยาว 1.5 เมตร ดอกเพศเมีย ออกเดี่ยวที่ซอกใบ หรือเป็นช่อบนกิ่งข้าง ก้านช่อยาว 3-6 มิลลิเมตร กลีบรวมยาว 2-5 มิลลิเมตร รูปไข่แคบหรือรูปหอก มีส่วนปลายแหลม ก้านเกสรเพศเมียเป็นขนนกมี 2 อัน

ผล :

คำอธิบาย : ผลสด รูปไข่ มีกลีบคล้ายปีกติดทน

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP