อินทนิลน้ำ

อินทนิลน้ำ

ชื่อ อินทนิลน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia speciosa
Author name (L.) Pers.
ชื่อวงศ์ LYTHRACEAE
ชื่ออื่นๆ ฉ่วงมู, ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอบะซา (นราธิวาส), บาเย, บาเอ (มลายู-ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ -
สรรพคุณทางยา ใบ : แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ไข้ แก้โรคเบาหวาน เปลือก : ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 7-20 เมตร

ลำต้น : เปลือกเรียบ

คำอธิบาย : เปลือกต้นเรียบ สีเทา หรือ สีน้ำตาลอ่อน และมีรอยด่างเป็นดวงสีขาว

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ยาวเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย โคนใบกลมหรือแหลม ผิวใบเกลี้ยง ใบมีสีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง สีม่วงหรือม่วงอมชมพู ดอกตูมจะมีตุ่มกลมๆ เล็กๆ ตั้งอยู่ กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบ จะเป็นคลื่นๆ เล็กน้อย บานเต็มที่จะมีรัศมีความกว้าง 5 เซนติเมตร กลีบดอก 6 กลีบ ไม่ติดกัน รูปกลม รังไข่กลมเกลี้ยง

ผล :

คำอธิบาย : ผลแห้งรูปไข่เกลี้ยง ผิวเรียบ ไม่มีขนปกคลุม สีน้ำตาลแดง ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแยก ออกเป็น 6 ช่อง และจะเผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP