การบูร
ชื่อ | การบูร |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cinnamomum camphora |
Author name | (L.) J.Presl |
ชื่อวงศ์ | LAURACEAE |
ชื่ออื่นๆ | การะบูน การบูร (ภาคกลาง), อบเชยญวน (ไทย), พรมเส็ง (เงี้ยว), เจียโล่ (จีนแต้จิ๋ว), จางมู่ จางหน่าว (จีนกลาง) |
ชื่อสามัญ | Camphor tree |
แหล่งอ้างอิง | Camphor tree |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แก้พิษแมลงกัดต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยากระตุ้นหัวใจ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวด |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ถึง 30 เมตร
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : เปลือกต้นสีน้ำตาล ผิวหยาบ เปลือกกิ่งสีเขียว หรือน้ำตาลอ่อน ลำต้นและกิ่งเรียบ ไม่มีขน เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ใบรูปรีหรือรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือกลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เมื่อนำใบมาขยี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมสีเหลืองหรืออมสีเขียว
ผล :
คำอธิบาย : ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลม และเป็นผลแบบมีเนื้อ ผลเป็นสีเขียวเข้มมีขนาดยาวประมาณ 6-10 มิลลิเมตร เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผลมีฐานดอกซึ่งเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นแป้นรองรับผล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
ราก :
คำอธิบาย :