ชะเอมไทย

ชะเอมไทย

ชื่อ ชะเอมไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla
Author name Benth.
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่นๆ ชะเอมป่า (ทั่วไป), ตาลอ้อย (ตราด), เพาะซูโพ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ย่านงาย (ตรัง), ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ), อ้อยช้าง (นราธิวาส, สงขลา)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา เนื้อไม้ : มีรสหวานแก้โรคในคอ แก้ไอขับเสมหะ ผล : ขับเสมหะ ราก : มีรสหวานเป็นยาแก้กระหายน้ำและเป็นยาระบาย
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้เลื้อย/ไม้เถา

คำอธิบาย : ไม้เถายืนต้นขนาดกลาง มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน ลักษณะของเถาจะมีตุ่มหนามด้าน ๆ ขนาดเล็กอยู่ตามลำต้นและกิ่งก้าน

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : เปลือกผิวมีลักษณะขรุขระและมีสีน้ำตาล

ใบ : ใบประกอบ

คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับกัน ส่วนใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน ที่โคนก้านใบป่องออก ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ มีกลีบดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม มีก้านช่อดอกยาว ดอกจะรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้าน ส่วนกลีบดอกมีขนาดเล็ก เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้ยาว มีสีขาว และมีจำนวนมาก

ผล :

คำอธิบาย : ฝักแบน ปลายแหลม มีเมล็ดนูนเห็นได้ชัด ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-6 เมล็ด ก้านฝักยาวมีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ตรงฝักบริเวณที่มีเมล็ดจะมีรอยนูนขึ้นเห็นได้ชัดเจน

ราก :

คำอธิบาย :

TOP