อินทนิลน้ำ
ชื่อ | อินทนิลน้ำ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Lagerstroemia speciosa |
Author name | (L.) Pers. |
ชื่อวงศ์ | LYTHRACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ตะแบกดำ (กรุงเทพ), ฉ่วงมู ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บางอบะซา (นราธิวาส, มลายู-ยะลา), บาเย บาเอ (มลายู-ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง, ภาคใต้) |
ชื่อสามัญ | Pride of india, Queen’s crape myrtle |
แหล่งอ้างอิง | Pride of india, Queen’s crape myrtle |
การใช้ประโยชน์ | - นิยมปลูกไว้เป็นไม้ริมทางและเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกและใบที่สวยงาม ให้ร่มเงาและเจริญเติบโตเร็ว - ใบอ่อน นำมาตากแดดใช้ชงเป็นชาไว้ดื่มได้ ช่วยแก้เบาหวานและช่วยลดความอ้วนได้อีกด้วย จนได้มีการนำไปแปรรูปเป็นสมุนไพรอินทนิลน้ำแบบสำเร็จรูปในรูปแบบแคปซูลและแบบชงเป็นชา - เนื้อไม้ เป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เพราะมีเนื้อไม้ที่แข็งแรง เหนียว และทนทาน ตกแต่งขัดเงาได้ง่าย โดยเนื้อไม้นิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ใช้ทำกระดาษ พื้น ฝา รอด ตง กระเบื้องไม้มุงหลังคา คานไม้ ไม้กั้น และส่วนประกอบอื่น ๆ และยังใช้ทำเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล แจวพายเรือ กรรเชียง ไถ รถ ซี่ล้อ ตัวถังเกวียน ไม้นวดข้าว กระเดื่อง ครกสาก บ่อน้ำ ร่องน้ำ กังหันน้ำ หมอนรางรถไฟ ถังไม้ ลูกหีบ หีบศพ เปียโน ฯลฯ |
สรรพคุณทางยา | ใบ : แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ไข้ แก้โรคเบาหวาน เปลือก : ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย |
ต้น :
คำอธิบาย : ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร
ลำต้น :
คำอธิบาย : ลำต้นตั้งตรง เปลือกสีเทาอ่อนหรือน้ำตาล มีปุ่มปมตามลำต้น
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปไข่แกมรูปขอบขนาน โคนมน ปลายมนหรือแหลม แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวเกลี้ยง
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกออกเป็นช่อใหญ่ออกตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ ๆ ปลายกิ่ง สีม่วงอมชมพู สีม่วงสด หรือม่วงล้วน ที่ส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลม ๆ เล็ก ๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปทรงกรวยหงาย
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : ผลรูปไข่เกลี้ยง ๆ ผิวผลเรียบ ไม่มีขนปกคลุม ผลมีสีน้ำตาลแดง ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง และจะเผยให้เห็นเมล็ดเล็ก ๆ ที่มีปีกเป็นครีบบาง ๆ ทางด้านบน
ราก :
คำอธิบาย :