เล็บเหยี่ยว (พันธุ์ไม้ปกปัก)
ชื่อ | เล็บเหยี่ยว (พันธุ์ไม้ปกปัก) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ziziphus oenoplia |
Author name | (L.) Mill. var. oenoplia |
ชื่อวงศ์ | RHAMNACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ตาฉู่แม, ไลชูมี (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), เล็ดเยี่ยว, พุทราขอ (ภาคกลาง), มะตันขอ, หนามเล็บเหยี่ยว, หมากหนาม (ภาคเหนือ), ยับยิ้ว (ภาคใต้), สั่งคัน (ระนอง, สุราษฎร์ธานี), แสงคำา (นครศรีธรรมราช) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | - |
สรรพคุณทางยา | 1.รากและเปลือกต้น นำมาต้มดื่มเป็นยาแก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ 2.ผลสุก ใช้รับประทาน มีรสเปรี้ยวเป็นยาระบาย |
ต้น : ไม้พุ่ม
คำอธิบาย : ไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง มีความยาวประมาณ 3-10 เมตร
ลำต้น :
คำอธิบาย : -
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปใบรี ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบอ่อนทั้งสองด้านมีขนนุ่มสั้นๆ ผิวใบด้านบนเรียบหรือมีขนด้วยเล็กน้อย ส่วนผิวใบด้านล่าง มีขนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ใบมีเส้นใบ 3 ใบ ออกจากฐานใบไปปลายใบ
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ขนาดเล็กและมีจำานวนมาก ใบประดับ 1 อัน ดอกย่อยจะมีประมาณ 5-11 ดอก กลีบดอกย่อย 5 กลีบ สีเขียวหรือสีเขียวอมเหลือง รูปช้อน ปลายกลมออกสลับกับกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ 5 อัน สีเขียวอมเหลือง ก้านชูเกสรแบน ติดอยู่ที่ฐานกลีบดอกส่วนอับเรณูเป็นรูปสามเหลี่ยม เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือวงกลีบ ก้านและยอดเกสรเพศเมีย มีลักษณะคล้ายรูปขวด สีเขียวอม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวหรือสีเขียวอมเหลือง ปลายกลีบ ก้านนอกมีขนเล็กน้อย
ผล :
คำอธิบาย : ผลสด รูปทรงกลมหรือรูป ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ เมล็ดแข็ง 1 เมล็ด ค่อนข้างกลม
ราก :
คำอธิบาย : -