เต่าร้าง
ชื่อ | เต่าร้าง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Caryota urens |
Author name | Lour. |
ชื่อวงศ์ | PALMAE |
ชื่ออื่นๆ | เขืองหมู่ (เหนือ), งือเด็ง (มาเลย์-นราธิวาส), เต่าร้างแดง (นครศรีธรรมราช), มะเด็ง (ยะลา) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | 1.เป็นไม้ดอกไม้ประดับ |
สรรพคุณทางยา | หัวและราก : มีรสหวานเย็นขม ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง และทำเครื่องมือทางการเกษตร เป็นไม้ประดับ ช่อดอกปาดเอาน้ำหวานมาผลิตน้ำตาลได้ ใบใช้มุงหลังคา ทำเชือก ยอดอ่อนต้มรับประทานได้ ทางภาคใต้นำยอดนำมาต้มกะทิกับกุ้ง ขนที่ผลเมื่อถูกผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงและคัน |
ต้น : ไม่ระบุ
คำอธิบาย : ปาล์มแตกกอ สูงได้ถึง 10 เมตร
ลำต้น :
คำอธิบาย : ลำต้นเส้นผ่านศูนย์กลางโตได้ถึง 20 เซนติเมตร
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบสองชั้น ชั้นที่สองข้างละ 10-20 ใบ รปูสามเหลี่ยมเรียวแหลม ปลายจัก ยาว 20-30 เซนตเิมตร บางครั้งแฉกลึกจรดโคน 2-3 แฉก คล้ายหางปลา ก้านใบยาว 0.8-2 เมตร แกนกลางใบประกอบยาว 2-2.8 เมตร
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ช่อดอกโค้งลง ยาวได้ถึง 85 เซนติเมตร แกนช่อยาว 20-65 เซนติเมตร ช่อย่อยจำนวนมาก ดอกเพศผู้กลีบดอกยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร ดอกเพศเมียกลีบดอกยาว 4-5 มิลลิเมตร
ผล :
คำอธิบาย : ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร สุกสีม่วงดำ ส่วนมากมีเมล็ดเดียว เนื้อในเมล็ดเป็นชั้น
ราก :
คำอธิบาย : -