งิ้ว

งิ้ว

ชื่อ งิ้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bombax ceiba
Author name L.
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่นๆ งิ้วแดง (กาญจนบุรี), งิ้วบ้าน (ทั่วไป), งิ้วปง งิ้วปงแดง สะเน้มระกา (ชอง จันทบุรี)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ดอก : ดับพิษไข้ ผสมในตำรับ แก้ร้อนใน ดอกแห้ง : ตำผสมน้ำทาระงับปวด กากพอกแก้ฟกช้ำอักเสบบวม ใบ : รสฝาดเย็น ดับพิษฝีและแก้อักเสบบวม ราก : บำรุงกำลังและทำให้อาเจียน
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่

ลำต้น :

คำอธิบาย : ลำต้นเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม

ใบ : ใบประกอบ

คำอธิบาย : ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยประมาณ 3-7 ใบเรียงสลับกัน รูปรีถึงรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ ใบสีเขียวไม่มีขน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ก้านช่อใบยาว โคนก้านบวมเล็กน้อย

ดอก : ดอกเดี่ยว

คำอธิบาย : ดอกเดี่ยว ออกตามปลายกิ่งหรือตามปลายยอด ดอกมีขนาดใหญ่สีชมพูแกมเลือดหมู สีแดง สีแสด และมีที่เป็นสีทองแต่หาได้ยาก ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ออกดอกเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วยแข็ง ๆ หรือเป็นกลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ส่วนกลีบดอกมีขนาดใหญ่และหนา มี 5 กลีบเป็นรูปขอบขนาน เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ปลายกลีบจะแผ่ออกและม้วนกลับมาทางขั้วของดอก หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาวจำนวนมาก เรียงกระจายเป็นวงรอบ สีขาวปนสีชมพู ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 ก้าน สีชมพู บริเวณปลายเป็นจุดสีเข้มมีความเหนียว ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ผลยาวรีคล้ายฝักรูปทรงกระบอก ที่ปลายทั้งสองข้างของผลจะแหลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล เปลือกของผลแข็ง มีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว และเมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกตามรอยประสาน ในผลมีเส้นหรือปุยสีขาวและมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมสีดำ และถูกห่อหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาว ๆ

ราก :

คำอธิบาย :

TOP