แซะ

แซะ

ชื่อ แซะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia atropurpurea Benth.
Author name Benth.
ชื่อวงศ์  LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นๆ กาแซะ, แซะ (ภาคใต้), พุงหมู (อุบลราชธานี), ยีนิเกะ (นราธิวาส)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ 1.เนื้อไม้ สีสวยใช้ประดับเฟอร์นิเจอร์ ทำพื้นปาเก้ พื้นกระดานและตกแต่งภายใน 2.ใบอ่อน กินเป็นผักกับน้ำพริกในภาคใต้ของไทย
สรรพคุณทางยา 1.เมล็ด โบราณใช้แก้บวม และใช้เบื่อปลา
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 25 เมตร เรือนยอดแน่น

ลำต้น :

คำอธิบาย : ลำต้นมักเป็นร่อง โคน มีพูพอนสูงชัน เปลือกสีเทาออกชมพูจนถึงน้ำตาลอ่อน เรียบหรือเป็นปล้องเล็กน้อย มีน้ำเลี้ยงเหนียวสีแดง

ใบ : ใบประกอบ

คำอธิบาย : ใบประกอบขนนก ปลายคี่ ออกตรงข้าม ใบย่อย 3-5 คู่ รูปขอบขนานแกมรี ปลายเรียวแหลม โคนทู่ถึงกลม เบี้ยว สีเขียวเข้ม เนื้อคล้ายหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : สีม่วงอมชมพูถึงสีม่วงเข้ม อาจมีสีเหลืองแต้มอยู่ด้านใน ออกเป็นช่อแตกแขนงที่ปลายกิ่งและมีช่อไม่แตกแขนงตามซอกใบ มีขนสีดำละเอียดปกคลุม กลีบเลี้ยงสีม่วงเข้ม มีขนรูประฆังเบี้ยว ปลายจักรซี่ฟัน เกสรเพศเมียมี 9 อันที่เชื่อมติดกัน และอีก 1 อันแยกออกมา ขนาดยาวและสั้นสลับกัน ก้านเกสรตัวผู้โค้ง ยาวเกือบครึ่งหนึ่งของรังไข่

ผล :

คำอธิบาย : ผลรูปไข่กลับ กว้างพองทั้งผล แก่แตก เมล็ดสีน้ำตาล มีริ้วเป็นคลื่นสีเข้มกว่า

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP