กะเรกะร่อน

กะเรกะร่อน

ชื่อ กะเรกะร่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbidium aloifolium
Author name (L.) Sw. var. alba
ชื่อวงศ์ Orchidaceae
ชื่ออื่นๆ กล้วยหางไหล (ชุมพร), เอื้องด้ามข้าว (ลำปาง), เอื้องปากเป็ด (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ เป็นสมุนไพรและไม้ประดับ
สรรพคุณทางยา ใบสดนำไปลนไฟให้นุ่ม บีบเอาน้ำมาหยอดหูแก้หูน้ำหนวก เมล็ดนำมาโรยใส่แผลเพื่อซับเลือดหรือใส่แผลเน่า
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น :

คำอธิบาย : กล้วยไม้อิงอาศัย

ลำต้น :

คำอธิบาย : ลำต้นสั้น เป็นหัวรูปรี มีหลายข้อ ขึ้นชิดกันเป็นกอ ๆ เกาะรวมกับเป็นกระจุกแน่น

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ออกเรียงสลับ ใบรูปขอบขนาน ปลายใบมนเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบ ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 30-50 ซม. แผ่นใบหนาแข็ง หลังใบและท้องใบเรียบ

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ออกดอกเป็นช่อสายห้อยลง ออกที่โคนต้น 1-2 ช่อ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 30-50 ซม. ในช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกมีขนาดประมาณ 2.5 ซม. กลีบดอกสั้นสีเหลืองมีลักษณะเป็นรูปแถบ กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ มีลักษณะเป็นรูปแถบ กลีบดอกจะแคบและสั้นกว่ากลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้มีสีเหลือง

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ผลเป็นรูปทรงกระบอก เป็นพู 5 พู ผิวผลเรียบ มีสีเขียวอมเหลือง เมื่อผลแห้งจะแตกได้ ในผลมีเมล็ดเป็นผงละเอียดจำนวนมาก

ราก :

คำอธิบาย : รากออกเป็นเส้นแข็งชี้ขึ้นไปในอากาศ

TOP