เสนียด

เสนียด

ชื่อ เสนียด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Justicia adhatoda
Author name L.
ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE
ชื่ออื่นๆ โบราขาว (เชียงใหม่), หูหา (เลย), หูรา (นครปฐม, นครพนม), กุลาขาว บัวลาขาว บัวฮาขาว (ภาคเหนือ), โมรา เสนียดโมรา (ภาคกลาง), กระเหนียด (ภาคใต้), กระเนียด (ทั่วไป), ชิตาโหระ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), จะลึ้ม (ป
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบ : มีรสสุขุม ใช้ห้ามเลือด ต้มน้ำอาบหลังคลอด เข้ายาแก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ เป็นยาบำรุงเลือด แก้ปวดข้อ บำรุงน้ำดี ราก : มีรสขม เฝื่อน ช่วยขับเสมหะ แก้ไข้ ขับพยาธิ เป็นยาบำรุงปอด แก้วัณโรค
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่ม สูง 1.5-4เมตร

ลำต้น :

คำอธิบาย : มักเป็นเหลี่ยม

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ รูปรีใหญ่ หรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลมสอบหรือเรียวมนรี ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 4-7 เซนติเมตร และยาว 8-15 เซนติเมตร พื้นใบเป็นสีเขียวและมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน หลังใบและท้องใบเรียบ

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อ ออกตามง่ามใบใกล้กับปลายยอด ช่อดอกรวมกันเป็นแท่ง ดอกมีใบประดับสีเขียวหุ้มดอกเรียงซ้อนกันเป็นชั้นเดียว ดอกย่อยของเสนียดกลีบดอกเป็นสีเขียว ก้านเกสรเพศเมียสั้น เกสรเพศผู้เป็นเส้นกลมยาว ที่ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉก

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ผลเป็นฝัก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร และมีขน ภายในพบเมล็ด 4 เมล็ด ผลเป็นผลแห้ง และแตกออกได้ แต่ไม่ติดผล

ราก :

คำอธิบาย :

TOP