มะกรูด
ชื่อ | มะกรูด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Citrus hystrix |
Author name | DC. |
ชื่อวงศ์ | RUTACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้), โกร้ยเชียด (เขมร), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), มะขู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) |
ชื่อสามัญ | Leech lime |
แหล่งอ้างอิง | Leech lime |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ผลสด : แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ไอ ใช้สระผมกันรังแค บำรุงเลือด ฟอกโลหิตประจำเดือน ผิวมะกรูด ใช้ปรุงเป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง แก้หวัดคัดจมูก น้ำในผล : แก้ไอ แก้ลมจุกเสียด แก้ปวดท้อง ราก แก้ไข้ |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : เป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ต้นเป็นทรงพุ่ม ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมยาว
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบ ออกเป็นใบเดี่ยว ก้านใบแผ่ออกเป็นครีบคล้ายแผ่นใบ มีลักษณะหนา เรียบ ผิวมัน สีเขียว และเขียวเข้มขึ้นตามอายุใบ ใบมีคอดกิ่วที่กลางใบทำให้ใบแบ่งออกเป็น 2 ตอน คล้ายใบไม้ 2 ใบ ต่อกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอม
ดอก : ดอกเดี่ยว
คำอธิบาย : ดอกเดี่ยว หรือช่อดอกแบบกระจุก ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอก 4 – 8 กลีบ กลีบดอกรูปรี ร่วงง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 – 2 เซนติเมตร
ผล : ผลสด
คำอธิบาย : ผลแบบส้ม รูปร่างค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 7 เซนติเมตร ผิวขรุขระ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกมีสีเหลือง
ราก :
คำอธิบาย :