อบเชยไทย

อบเชยไทย

ชื่อ อบเชยไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum bejolghota
Author name (Buch.-Ham.) Sweet
ชื่อวงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่นๆ ขนุนมะแวง จวงดง (หนองคาย) เชียกใหญ่ (ตรัง) เฉียด บริแวง (ระนอง) ฝนแสนห่า สมุลแว้ง (นครศรีธรรมราช) พะแว โมงหอม มหาปราบ มหาปราบตัวผู้ (ภาคใต้) แลงแวง (ปัตตานี) ระแวง (ชลบุรี)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา เปลือก : บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต รากและใบ : ต้มดื่มแก้ไข้จากการอักเสบหลังคลอด เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องอืดเฟ้อ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-20 เมตร 

ลำต้น :

คำอธิบาย :

ใบ :

คำอธิบาย : ใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบรูปขอบขนาน แผ่นใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ เส้นใบออกจากโคนมี 3 เส้น ยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ก้านใบยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร

ดอก :

คำอธิบาย : ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นเหม็น ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน

ผล :

คำอธิบาย : ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลแข็ง ตามผิวผลมีคราบขาว แต่ละมีเมล็ดเดียว ฐานรองรับผลมีลักษณะเป็นรูปถ้วย

ราก :

คำอธิบาย :

TOP