กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง

ชื่อ กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa
Author name Linn.
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่นๆ กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง (ภาคเหนือ), ส้มตะเรงเครง (ตาก), ส้มปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบ : ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด ช่วยระบบไหลเวียนเลือด ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ดอก : ขับปัสสาวะ ขับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้อาการกระหายน้ำ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ล้มลุก

คำอธิบาย :

ลำต้น :

คำอธิบาย : ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

ดอก : ดอกเดี่ยว

คำอธิบาย : ดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่าคือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลม มี 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย

ผล :

คำอธิบาย : รูปรีมีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะแห้งแตกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จำนวนมาก ประมาณ 30-35 เมล็ดต่อผล และผลยังมีกลีบเลี้ยงหนาสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มอยู่

ราก :

คำอธิบาย :

TOP