มะพูด

มะพูด

ชื่อ มะพูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia dulcis
Author name (Roxb.) Kurz.
ชื่อวงศ์ CLUSIACEAE
ชื่ออื่นๆ ไข่จระเข้ ตะพูด ส้มปอง ส้มม่วง (จันทบุรี), พะวาใบใหญ่ (จันทบุรี, ชลบุรี), ปะหูด (ภาคเหนือ), ปะหูด มะหูด (ภาคอีสาน), จำพูด มะพูด (ภาคกลาง), ตะพูด พะวา ประหูด ประโหด ประโฮด มะนู (เขมร), ปะพูด
ชื่อสามัญ Yellow mangosteen
แหล่งอ้างอิง Yellow mangosteen
การใช้ประโยชน์ - ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้ และในปัจจุบันได้มีการนำไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้และผลไม้กวนจำหน่าย - ผลดิบมีรสเปรี้ยว ใช้แทนมะนาวในการทำแกงส้มกุ้งสดได้ - ใบและเปลือกต้นใช้สกัดย้อมสีเส้นไหม โดยจะให้สีเหลืองคล้ายสีเหลืองของดอกบวบให้สีเหลืองสด หรือ สีน้ำตาล - เป็นไม้ต้นที่มีทรงพุ่มสวยงาม ใบและผลเด่น จึงใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและปลูกเพื่อให้ร่มเงาได้ เช่น ปลูกในบริเวณศาลา ใกล้ทางเดิน ริมน้ำ ในสวนผลไม้ เป็นต้น - คนไทยโบราณเชื่อว่า หากปลูกต้นมะพูดไว้ในบริเวณบ้านจะช่วยส่งเสริมให้ลูกหลานเป็นคนช่างพูดช่างเจรจา พูดในสิ่งที่ดีงาม พูดจาไพเราะเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน แก้เด็กปากหนักไม่ยอมพูดกับใคร โดยจะนิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบ้าน
สรรพคุณทางยา ผล : แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายอ่อนๆ ราก : แก้ไข้ แก้ร้อนใน ถอนพิษผิดสำแดง
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรง สูง 7-10 เมตร

ลำต้น : เปลือกเรียบ

คำอธิบาย : เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เรียบ และแตกเป็นร่องตื้นตามยาว

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยวเรียงสลับกึ่งตรงข้าม รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน ปลายสอบเรียว โคนกว้างมนตัดตรง เว้าเล็กน้อย ขอบเรียบ สีเขียวเข้ม ด้านมีขนละเอียด ก้านใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร มีขนบางปกคลุม

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 3-5 ดอก ออกตามซอกใบหรือตามแผลใบและตามกิ่งก้าน ดอกสีขาวอมเหลือง เมื่อดอกบานเต็มเป็นรูปถ้วยโถ

ผล :

คำอธิบาย : ผลรูปทรงกลมหรือรูปไข่ ผิวผลเรียบและเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองสดอมสีส้ม เนื้อในผลเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยวอมหวาน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-5 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี สีน้ำตาล

ราก :

คำอธิบาย :

TOP