เหรียง

เหรียง

ชื่อ เหรียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia timoriana (DC.) Merr.
Author name
ชื่อวงศ์
ชื่ออื่นๆ กะเหรี่ยง เรียง สะเหรี่ยง สะตือ (ภาคใต้), นะกิง นะริง (ภาคใต้-มาเลย์), เรียง เหรียง เมล็ดเหรียง
ชื่อสามัญ Tree bean.
แหล่งอ้างอิง Tree bean.
การใช้ประโยชน์ - ลูกเหรียง หรือหน่อเหรียง หรือเมล็ดเหรียง เกิดจากการเพาะเมล็ดที่เริ่มงอก สามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้เช่นเดียวกับสะตอ แต่เหรียงจะมีรสที่ขมกว่า โดยใช้รับประทานสดแกล้มกับน้ำพริกหรือแกงใต้ หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น การทำแกง แกงหมูลูกเหรียง ผัด หรือจะนำไปทำเป็นผักดองก็ได้ - ลำต้น เปลาตรง มีเนื้อไม้สีขาวนวล ไม่มีแก่น เสี้ยนตรงสม่ำเสมอ มีความอ่อนและเปราะ สามารถเลื่อยผ่าได้ง่าย นำมาใช้ทำเป็นส่วนประกอบที่มีน้ำหนักเบาหรือเป็นโครงร่างของการผลิตต่าง ๆ เช่น การทำรองเท้าไม้ หีบใส่ของ ไม้หนาประกบพวกเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เครื่องใช้สอยอื่น ๆ เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แพ และเรือที่ขุดจากต้นไม้ - เหรียงจัดเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง จึงมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงดินได้ดี ส่วนของใบเหรียงนั้นมีขนาดเล็กจึงเหมาะแก่การนำมาใช้ปลูกควบคู่ไปกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกกาแฟ ก็จะช่วยทำให้ผลผลิตของกาแฟสูงขึ้นติดต่อกัน - ต้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพที่ไม่เหมาะสม จึงนิยมนำต้นเหรียงมาใช้เป็นต้นตอเพื่อใช้ในการติดตาพันธุ์สะตอ
สรรพคุณทางยา - เมล็ดเหรียงมีรสมัน ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยทำให้เจริญอาหารได้ดี มีวิตามินเอ วิตามินซี และแคลเซียม จึงช่วยบำรุงเหงือกและฟันให้แข็งแรง เป็นยาแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลมในลำไส้ - เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผล ช่วยลดน้ำเหลือง
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น :

คำอธิบาย :

ลำต้น :

คำอธิบาย :

ใบ :

คำอธิบาย :

ดอก :

คำอธิบาย :

ผล :

คำอธิบาย :

ราก :

คำอธิบาย :

TOP