สำรอง

สำรอง

ชื่อ สำรอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scaphium scaphigerum
Author name (Wall. ex G. Don) G.Planch.
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่นๆ ท้ายเภา สำเภา (พัทลุง), พุงทะลาย สำรองกะโหลก สำรองดอกแดง (ทั่วไป), เปรียง โปรง (ภาคใต้), สำรองหนู (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา เปลือกหุ้มเมล็ด : แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ท้องเสีย แก้ท้องผูก
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : ลำต้นตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้น ๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปคล้ายรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อยเป็นรูปหัวใจ และใบมีรูปร่างเป็นแฉกเว้าลึกประมาณ 2-5 แฉก ส่วนขอบใบเรียบ เนื้อใบแข็ง ผิวเรียบเป็นมัน

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งและซอกใบ โดยจะออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ ดอกเป็นดอกแยกเพศ กลีบดอกเป็นแฉกคล้ายรูปดาว ลีบดอกปลายแหลม เป็นสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปร่างคล้ายทรงบอก มีขนปกสีแดงปกคลุม ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 10-15 ก้านและเกสรเพศเมียอีก 1 ก้าน

ผล :

คำอธิบาย : ผลจะออกตามปลายกิ่ง กิ่งหนึ่งจะมีผลประมาณ 1-5 ผล รูปร่างคล้ายเรือหรือรูปกระสวย เมื่อแก่จะแตกออก ภายในผลมีเมล็ดลักษณะกลมรีเล็กน้อย ลักษณะคล้ายกับลูกสมอ ผลแก่สีน้ำตาล ผิวเหี่ยวย่น แห้ง และขรุขระ เมล็ดรูปมนรี มีเยื่อหุ้มอยู่

ราก :

คำอธิบาย :

TOP