ไทรย้อย

ไทรย้อย

ชื่อ ไทรย้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina
Author name L.
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่ออื่นๆ จาเรย (เขมร), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพมหานคร ตราด)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา รากอากาศ : ต้มดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะมีสีต่างๆ ช่วยบำรุงน้ำนม
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยลง เปลือกต้นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยลง

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ บางต้นรูปกลมป้อม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นสีเขียวเรียบเป็นมัน

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ช่อดอกออกตามซอกใบ ขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปทรงกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่ ไม่มีกลีบดอก

ผล :

คำอธิบาย : รูปทรงกลมหรือรี ออกผลเป็นคู่ ๆ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีส้มแดง หรือสีม่วงดำ ไร้ก้าน

ราก :

คำอธิบาย :

TOP