แค
ชื่อ | แค |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Sesbania grandiflora |
Author name | (L.) Poir. |
ชื่อวงศ์ | FABACEAE |
ชื่ออื่นๆ | แคแดง (เชียงใหม่), แคบ้าน แคบ้านดอกแดง (ภาคกลาง) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ดอกและใบ : รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม) ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ลดไข้ เปลือกต้น : แก้ท้องร่วง แก้บิด ชะล้างบาดแผล ห้ามเลือด เป็นยาสมานแผล ใบสด : เป็นยาระบาย |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยขนาดเล็กรูปขอบขนาน ปลายใบมนกว้าง ขอบใบและแผ่นใบเรียบ ใบสีเขียว กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ 2-3 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม มีสีขาวหรือสีแดง มีก้านเกสรตัวผู้สีขาวอยู่ 60 อัน กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือรูปถ้วย
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาว มีความยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ผสมเกสรโดยนก ฝักเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก และมีเมล็ดอยู่ด้านใน ฝักแคมีสีเขียวอ่อน เมล็ดแคมีลักษณะเหมือนลิ่ม เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
ราก :
คำอธิบาย :