สำโรง
ชื่อ | สำโรง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Sterculia foetida L. |
Author name | |
ชื่อวงศ์ | |
ชื่ออื่นๆ | จำมะโฮง (เชียงใหม่), มะโรง มะโหรง (ปัตตานี) |
ชื่อสามัญ | Bastard poom, Pinari,Java olive, Skunk tree |
แหล่งอ้างอิง | Bastard poom, Pinari,Java olive, Skunk tree |
การใช้ประโยชน์ | - เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน ไม้อัด เปลือกใช้ทำเชือก น้ำมันจากเนื้อในเมล็ดใช้ปรุงอาหารและจุดไฟ |
สรรพคุณทางยา | เปลือกหุ้มเมล็ด : มีสรรพคุณช่วยแก้กระหายน้ำ เปลือก : ช่วยละลายเสมหะ ผล : มีรสฝาด สรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ น้ำจากผล : มีสรรพคุณเป็นยาสมานท้อง เปลือกผล : ช่วยแก้ลำไส้พิการ เปลือกต้นและเมล็ด : มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ใบ : สรรพคุณเป็นยาระบาย เปลือกต้น : มีรสฝาดสุขุม ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยากล่อมเสมหะและอาจม ช่วยแก้โลหิตและลมพิการ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ ยาแก้บิดปิดธาตุ นำมาต้มกับน้ำกินช่วยแก้อาการบวมน้ำ |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ สูงถึง 20 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : ลำต้นเปลาตรง เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบ ค่อนข้างหนาและเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบแบบฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-8 ใบ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาเกลี้ยง หลังใบเรียบ และท้องใบเรียบแต่มีสีอ่อนกว่า
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีแดงเข้ม ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นรูปถ้วยสีแสด ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ ปลายกลีบม้วนออก และมีขนละเอียดปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่จะงอลงด้านล่าง ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 12-14 อัน ก้านเกสรมีขนาดสั้นมาก อยู่ติดกับรังไข่
ผล :
คำอธิบาย : รูปทรงรีหรือรูปไต ปลายผลมีติ่งแหลมออกเป็นพวงห้อยย้อยลงมา ผิวผลเรียบแข็ง ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม สีแดง หรือสีแดงปนน้ำตาล
ราก :
คำอธิบาย :