พะยอม
ชื่อ | พะยอม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Shorea roxburghii G.Don |
Author name | |
ชื่อวงศ์ | |
ชื่ออื่นๆ | กระยอม (เชียงใหม่) พะยอม (กลาง) พะยอมดง (เหนือ) ยอม (ใต้) ยางหยวก (น่าน) |
ชื่อสามัญ | White meranti |
แหล่งอ้างอิง | White meranti |
การใช้ประโยชน์ | - ดอกอ่อนรับประทานสด หรือนำมาลวกเป็นผักไว้จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้ผัดกับไข่ ชุบไข่ทอด หรือจะนำมารับประทานเป็นน้ำซุปร้อน ๆ โดยนำมาแกงส้มก็ได้เช่นกัน - เนื้อไม้ สีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล ใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆไป เช่น การทำเสาบ้าน ขื่อ รอด ตง พื้น ทำฝา เรือขุด เครื่องบนเสากระโดงเรือ แจว พาย กรรเชียง คราด ครก สาก ลูกหีบ กระเดื่อง ตัวถังรถ ซี่ล่อเกวียน กระเบื้อง - เปลือกต้นใช้รับประทานกับใบพลูแทนหมากได้ - เปลือกต้นและเนื้อไม้นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ไว้ใช้รองน้ำตาลสดจากต้นมะพร้าวและน้ำตาลจากต้นตาลโตนด - เปลือกต้นหรือไม้ชิ้นเล็ก ๆ นำมาใช้ใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูดกันเสียได้ - ชันที่ได้จากต้นพะยอมสามารถใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ ยาแนวเรือได้ - เปลือกต้นมีสารแทนนินชนิด Pyrogallol และ Catechol ในปริมาณสูง จึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง - สามารถปลูกได้ดีในที่แล้ง ปลูกไว้เพื่อความสวยงามให้ร่มเงา - คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดที่ปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะคำว่าพะยอมมีความหมายว่า การยินยอม ตกลง ผ่อนผัน หรือประนีประนอมนั่นเอง และยังเชื่อว่าจะช่วยทำให้ไม่ขัดสนในเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องเงินทองด้วย เพราะจะทำให้ผู้คนต่างให้ความเห็นใจนั่นเอง โดยการปลูกเพื่อเอาคุณนั้นให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและควรปลูกในวันเสาร์ |
สรรพคุณทางยา | - ดอก สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ ใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม (ดอก) - เปลือกต้นช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ใช้กินแทนหมาก ช่วยแก้ลำไส้อักเสบได้ - เปลือกต้นมีสีสาร Tannin มาก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานแผลในลำไส้ได้ ช่วยสมานบาดแผล ชำระบาดแผล โดยนำมาฝนแล้วทาบริเวณบาดแผล |
ต้น :
คำอธิบาย :
ลำต้น :
คำอธิบาย :
ใบ :
คำอธิบาย :
ดอก :
คำอธิบาย :
ผล :
คำอธิบาย :
ราก :
คำอธิบาย :