ขี้เหล็ก (พันธุ์ไม้เขตการศึกษา)

ขี้เหล็ก (พันธุ์ไม้เขตการศึกษา)

ชื่อ ขี้เหล็ก (พันธุ์ไม้เขตการศึกษา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna siamea
Author name (Lam.) H.S. Irwin & Barneby
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่นๆ ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง, สุราษฏร์ธานี), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กใหญ่ (ทั่วไป), ผักจี้ลี้ (แม่ฮองสอน), แมะขี้เหละพะโดะ (แม่ฮองสอน), ยะหา (ปัตตานี),
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ 1.ใบอ่อน ใช้เป็นอาหาร 2.ปลูกเป็นไม้ให้ร่มริมทาง
สรรพคุณทางยา 1.ใบอ่อน ใช้เป็นยาระบาย 2.ดอก ใช้เป็นยานอนหลับ 3.ฝักภายในมีรสฝาดสมาน ใช้รักษาท้องร่วง และยังมีสารที่ช่วยระบายอ่อนๆ 4.ราก ใช้ผสมเป็นตัวยาขับพยาธิ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ต้น สูงประมาณ 8-15 เมตร

ลำต้น :

คำอธิบาย : -

ใบ : ใบประกอบ

คำอธิบาย : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 7-10 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร โคนมน ปลายมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ใบอ่อนมีขนทั่วไป ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 2-3 เซนติเมตร กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปร่างค่อนข้างกลม หนา ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1.5-2 เซนติเมตร เกสรผู้ 10 อัน รังไข่มีขน

ผล :

คำอธิบาย : เป็นฝัก ลักษณะแบน อวบ ยาว ประมาณ 15 เซนติเมตร

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP