กันเกรา

กันเกรา

ชื่อ กันเกรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans
Author name Roxb.
ชื่อวงศ์ GENTIANACEAE
ชื่ออื่นๆ มันปลา (ภาคเหนือ ภาคอีสาน), ตำแสง ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำมูซู ตะมะซู (มลายู-ภาคใต้)
ชื่อสามัญ Tembusu
แหล่งอ้างอิง Tembusu
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบ : เป็นยาแก้ไข้จับสั่น บำรุงธาตุ แก้หืด รักษาโรคผิวหนังพุพอง แก่น : แก้ไข้จับสั่น แก้หืด แก้ไอ แก้ริดสีดวง แก้แน่นอก โลหิตพิการ ช่วยขับลม แก้ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนังและร่างกาย บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 25 เมตร

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : เปลือกสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง เป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ เมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีเหลืองอมแสด กลีบโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายแฉกแหลม มีเกสรตัวผู้ยาวติดกับกลีบดอก และมีเกสรตัวเมียยาวอีก 1 อัน

ผล :

คำอธิบาย : ผลเป็นผลเดี่ยวทรงกลม ขนาด 5-8 มม. ปลายผลมีติ่งแหลมสั้นๆ ผลอ่อนสีส้ม เมื่อแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นแดงเลือดนก มีรสขม เมล็ด จำนวนมาก ขนาดเล็ก สีน้ำตาลไหม้

ราก :

คำอธิบาย :

TOP