เนระพูสีไทย
ชื่อ | เนระพูสีไทย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Tacca chantrieri |
Author name | André |
ชื่อวงศ์ | DIOSCOREACEAE |
ชื่ออื่นๆ | กลาดีกลามูยี (มลายู ปัตตานี), คลุ้มเลีย ว่านหัวฬา (จันทบุรี), ดีงูหว้า (ภาคเหนือ), ดีปลาช่อน (ตราด), นิลพูสี (ตรัง), มังกรดำ (กรุงเทพมหานคร), ม้าถอนหลัก (ชุมพร), ละเบ๊าะบูเก๊ะ (มลายู ยะลา), ว่านค้างคา |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | เหง้า: เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ธาตุพิการ แก้ความดันโลหิตต่ำ ช่วยดับพิษไข้ แก้ท้องเสีย |
ต้น : ไม้ล้มลุก
คำอธิบาย : ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี
ลำต้น :
คำอธิบาย : ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีประมาณ 3-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้างหรือเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร เส้นแขนงของใบแตกออกจากเส้นกลางใบโค้งจรดกันเกือบถึงขอบใบ แผ่นใบเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบ และมีก้านใบยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ออกดอกเป็นช่อกลุ่ม ๆ ประมาณ 1-2 ช่อ มีความยาวได้ถึง 70 เซนติเมตร ในแต่ช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 4-6 ดอก (มีมากสุดถึง 25 ดอกย่อย) แทงออกมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดินขึ้นมา ดอกเป็นสีม่วงดำหรือเป็นสีเขียวเข้ม กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน กลีบด้านนอก 3 กลีบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้างประมาณ 3-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-12 มิลลิเมตร ส่วนกลีบด้านใน 3 กลีบ มีขนาดกว้างประมาณ 4-12 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-11 มิลลิเมตร ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 0.6-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้สีเขียวหรือสีเหลือง ใบประดับเป็นสีม่วงดำหรือเป็นสีเขียวเข้ม 2 คู่ ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก ไม่มีก้าน ใบประดับคู่นอกมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปไข่ หรือรูปใบหอก และมีใบประดับที่ลดรูปเป็นเส้นด้ายอีก 5-25 ใบ ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร เป็นสีเขียวหรือสีม่วง และกลีบดอกจะติดอยู่ไม่หลุดร่วงได้ง่าย
ผล :
คำอธิบาย : ผลเป็นทรงสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปกระสวย ผลมีสันเป็นคลื่น 6 สันตามยาวของผล มีวงกลีบรวมที่ยังไม่ร่วงติด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไต
ราก :
คำอธิบาย :