ขนุน
ชื่อ | ขนุน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Artocarpus heterophyllus |
Author name | Lam. |
ชื่อวงศ์ | MORACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ขนุนละมุด (ทั่วไป), ขะนู (ชอง กาญจนบุรี), ขะเนอ (เขมร), ซีคึย ปะหน่อย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), นะยวยซะ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี), นากอ (มลายู ปัตตานี), เนน (ชาวบน นครราชสีมา), มะหนุน (ภาคเหนือ), ลาง (เงี้ |
ชื่อสามัญ | Jack fruit tree |
แหล่งอ้างอิง | Jack fruit tree |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | แก่น : ใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแก่ ราก : รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต ยาง : รักษาแผลบวมอักเสบ แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ใบ : แก้ปวดหู รักษาแผลมีหนอง ผล : แก้ท้องเสีย แก้ตกเลือดในสตรี เมล็ด : เนื้อหุ้มเมล็ด บำรุงกำลัง เป็นยาระบายอ่อนๆ เนื้อในเมล็ด : บำรุงน้ำนมหลังคลอด บำรุงกำลัง |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร
ลำต้น :
คำอธิบาย : ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
ใบ :
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ
ดอก :
คำอธิบาย : ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม
ผล : ผลสด
คำอธิบาย : ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่
ราก :
คำอธิบาย :