หางหมาจอก

หางหมาจอก

ชื่อ หางหมาจอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Uraria crinita
Author name (L.) Desv. ex DC.
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่นๆ กันตุยซาโม (เขมร จันทบุรี), ขี้หนอน (กาฬสินธุ์), หญ้าตะขาบ (ราชบุรี), หญ้าหางแมว (สตูล), หญ้าหางเสือ (เชียงใหม่), หางกระรอก (กรุงเทพมหานคร), เหนียวหมา (สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา ใบและเปลือก : รักษาเลือดเป็นพิษ และอาการคัน ราก : ยาถ่าย ฆ่าพยาธิ ต้น : ถอนพิษ แก้โรคภูมิแพ้
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น :

คำอธิบาย : ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 0.5-1.5 เมตร

ลำต้น :

คำอธิบาย :

ใบ : ใบประกอบ

คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 3-11 ใบ รูปวงรีแกมขอบขนาน แกมใบหอก กว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร แผ่นใบเหนียว ผิวใบมัน ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบ

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นแท่ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง หรือ สีม่วงแกมชมพู ก้านดอกย่อยมีขนยาว ปลายขนงอเป็นตะขอ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน ค่อนข้างแข็ง

ผล :

คำอธิบาย : ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน แบน คอดเป็นข้อๆ พับงอไปมา เมื่อสุกจะเป็นสีดำไม่แตก

ราก :

คำอธิบาย :

TOP