เชียด (พันธุ์ไม้ปกปัก)

เชียด (พันธุ์ไม้ปกปัก)

ชื่อ เชียด (พันธุ์ไม้ปกปัก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum iners
Author name Reinw. ex Blume
ชื่อวงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่นๆ กระแจโมง, กะเชียด (ยะลา), กระดังงา (กาญจนบุรี), เขียด, เคียด, เฉียด, ชะนุต้น (ใต้), เชียด (กลาง), ฝักดาบ (พิษณุโลก), พญาปราบ (นครราชสีมา), สะวง (ปราจีนบุรี), อบเชย, อบเชยต้น (กลาง)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ 1.ไม้เนื้อแข็งปานกลางและทนแมลง ใช้ก่อสร้าง 2.เปลือกต้น มีกลิ่นหอมเป็นเครืื่องเทศ 3.ให้ร่มเงา
สรรพคุณทางยา 1.รากและใบ ใช้เป็นสมุนไพรหลังคลอด แก้ไข้และยาพอกแก้ไขข้ออักเสบ
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่ม ไม้ต้นเล็กถึงใหญ่ ไม่ผลัดใบ กิ่งเล็กเรียว

ลำต้น :

คำอธิบาย : สีน้ำตาลเข้มและเป็นเงา ตายอดเล็ก มีขนละเอียด

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว รูปรีแคบถึงใบหอก แกมขอบขนาน ปลายทู่หรือแหลมกว้างทั้งสองด้าน เกลี้ยงและเป็นมันด้านบน ด้านล่างมีนวลและขนละเอียดถึงค่อนข้างเกลี้ยง ก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร ใบคล้ายหนังบาง เส้นใบย่อยค่อนข้างชัดด้านล่าง

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกช่อเรียวเล็กแตกแขนง ที่ปลายกิ่งและตามซอกใบบน มีขนกระจายถึงแน่น สมบูรณ์เพศ กลีบรวมเป็นถ้วยหรือกรวยตื้น ปลายเป็น 6 พูเท่ากัน เกสรเพศผู้ 9 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ

ผล :

คำอธิบาย : ผลเดี่ยวรูปขอบขนาน ผลอยู่บนถ้วยกลีบรวมขนาดใหญ่ มีเนื้อ เมล็ดเดียวแข็ง เกลี้ยง มักเป็นไข

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP