ติ้ว (พันธุ์ไม้ปกปัก)

ติ้ว (พันธุ์ไม้ปกปัก)

ชื่อ ติ้ว (พันธุ์ไม้ปกปัก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum
Author name (Jack) Benth. & Hook. f. ex Dyer
ชื่อวงศ์ HYPERICACEAE
ชื่ออื่นๆ ติ้วขาว (กรุงเทพฯ), ติ้วส้ม (นครราชสีมา), แต้วหอม (พิษณุโลก), มูโต๊ะ (มาเลย์-นราธิวาส), สมอตีน, นน (ใต้), สมอต้นนกใต้
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ 1.เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้าง ทำรั้ว ทำฟืนและถ่าน
สรรพคุณทางยา -
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ผลัดใบ อาจสูงได้ถึง 20 เมตร ต้นอ่อนมีหนาม

ลำต้น : เปลือกแตก

คำอธิบาย : เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนา สีน้ำตาลดำ กิ่งเกลี้ยง

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายแหลมมนหรือกลม โคนสอบหรือมน ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ผิวด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีนวล มีขนสั้นหนานุ่ม ใบอ่อนสีแดงอมชมพู

ดอก :

คำอธิบาย : ดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อแบบกระจุก ช่อกระจะหรือช่อแยกแขนงสั้นๆ ออกที่ซอกใบและที่ปลายกิ่งออกพร้อมแตกใบใหม่ ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงง่าย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ แกมรูปหอก เพศผู้เชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม รังไข่มี 3 ช่อง เกสรเพศผู้จำนวนมากเชื่อมติดกันเป็น 3 กลุ่ม สลับกับกลุ่มเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์ 3 อัน แยกจากกัน

ผล : ผลแห้ง

คำอธิบาย : ผลแห้งแตก รูปรีแกมรูปขอบขนาน ผิวมีนวล กลับเลี้ยงติดทนหุ้มเฉพาะส่วนโคนของผล ผลแก่แตกตามรอยประสานเป็น 3 ซีก เมล็ดจำนวนมาก เมล็ดรวมปีก รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ

ราก :

คำอธิบาย : -

TOP