โมกหลวง
ชื่อ | โมกหลวง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Holarrhena pubescens |
Author name | Wall. ex G.Don |
ชื่อวงศ์ | APOCYNACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ซอทึ พอแก ส่าตึ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), พุด (กาญจนบุรี), พุทธรักษา (เพชรบุรี), มูกมันน้อย มูกมันหลวง มูกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง (ภาคเหนือ), โมกใหญ่ (ทั่วไป), ยางพูด (เลย) หนามเนื้อ (เงี้ยว ภาคเหนือ) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | เปลือกต้น : เป็นยาเจริญอาหาร ต้มน้ำดื่มช่วยระงับอาการปวดกล้ามเนื้อ แก้บิด แก้เสมหะเป็นพิษ ปรุงเป็นยาแก้โรคเบาหวาน แก้ไข้จับสั่น ใบ : เป็นยาขับพยาธิในท้อง เมล็ด : แก้ไข้ท้องเสีย |
ต้น : ไม้พุ่ม
คำอธิบาย : ไม้พุ่มผลัดใบหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : ลำต้นกลม เปลือกต้นชั้นนอกสีเทาอ่อนถึงสีน้ำตาล หลุดลอกออกเป็นแผ่นกลม ๆ ขนาดไม่เท่ากัน เปลือกชั้นในสีซีด
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงเป็นคู่ตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปไข่ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลมหรือมน โคนใบแหลมหรือป้าน ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขน ใบแก่บาง เส้นใบจะเป็นสีเหลือง ไม่มีต่อม ผิวใบด้านบนมีขนนุ่ม ด้านล่างมีขนหนาแน่นกว่า
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกใกล้กับปลายกิ่ง ในแต่ละช่อจะมีดอกหลายดอก ช่อดอกห้อยลง ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน บางครั้งอาจมีแต้มสีชมพู กลีบดอกมี 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เวียนซ้าย ผิวด้านนอกมีขนสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ
ผล :
คำอธิบาย : ฝักแห้ง รูปทรงกระบอกแคบ ปลายฝักแหลม โคนฝักแบน เมื่อฝักแก่จะแตกตามยาวเป็นตะเข็บเดียวแยกออกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบน สีน้ำตาล เกลี้ยง
ราก :
คำอธิบาย :