มะขาม
ชื่อ | มะขาม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Tamarindus indica L. |
Author name | |
ชื่อวงศ์ | |
ชื่ออื่นๆ | ตะลูบ (ชาวบน นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), หมากแกง (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร สุรินทร์) |
ชื่อสามัญ | Indian date, Tamarind. |
แหล่งอ้างอิง | Indian date, Tamarind. |
การใช้ประโยชน์ | ประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย จัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาจะเป็นเนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกของลำต้น (ทั้งสดและแห้ง) และเนื้อในเมล็ด สามารถช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ |
สรรพคุณทางยา | ราก : แก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด เปลือกต้น : แก้ไข้ ตัวร้อน แก่น : กล่อมเสมหะ และโลหิต ขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่ ใบสด : (มีกรดเล็กน้อย) เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้บิด รักษาหวัด ขับเสมหะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ ต้มผสมกับสมุนไพรอื่นๆ อาบหลังคลอดช่วยให้สะอาดขึ้น เนื้อหุ้มเมล็ด : แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ เป็นยาสวนล้างท้อง ฝักดิบ : ฟอกเลือด และลดความอ้วน เป็นยาระบายและลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้ เมล็ดในสีขาว : เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลมในลำไส้ พยาธิเส้นด้าย เปลือกเมล็ด : แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก ที่คอ ที่ลิ้น และตามร่างกาย รักษาแผลสด ถอนพิษและรักษาแผลที่ถูกไฟลวก รักษาแผลเบาหวาน เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) : รับประทานจิ้มเกลือ แก้ไอ ขับเสมหะ ดอกสด : เป็นยาลดความดันโลหิตสูง |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย :
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : เปลือกหนา ขรุขระ สีน้ำตาลเข้ม
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนก รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกเบี้ยว ปลายเป็นติ่งแหลม โคนมน ขอบเรียบ
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองหรือสีส้ม มีลายจุดสีแดง กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 3 เกสร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขน
ผล :
คำอธิบาย : ฝักโค้งหรืองอ เปลือกแข็งหนา เมล็ดสีน้ำตาล เป็นมันวาว
ราก :
คำอธิบาย :