ว่านหอมแดง

ว่านหอมแดง

ชื่อ ว่านหอมแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eleutherine amaricana
Author name (Aubl.) Merr. Ex K. Heyne
ชื่อวงศ์ IRIDACEAE
ชื่ออื่นๆ บ่อเจอ เพาะบีเบ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ว่านไก่แดง ว่านเข้า ว่านหมาก (ภาคเหนือ), ว่านเพลาะ (เชียงใหม่), หอมแดง (ภาคใต้ ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา หัว : มีรสร้อน ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือตำผสมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย ทำให้อาเจียน แก้บิด และอาการอักเสบของริดสีดวงทวาร
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ล้มลุก

คำอธิบาย : พืชล้มลุก

ลำต้น :

คำอธิบาย : หัวใต้ดินรูปไข่ยาว เปลือกหุ้มหัวสีแดง ทรงกระสวย มีลักษณะคล้ายหัวหอม แต่ใบเกล็ดที่หุ้มหัวหนา แข็งกว่า มีสีแดงเข้มอมม่วง ลำต้นที่อยู่เหนือดินตั้งขึ้น โค้ง หรือเอนนอนแต่ปลายโค้งขึ้น

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยวแทงขึ้นมาจากพื้นดิน รูปหอก จีบซ้อนกันคล้ายพัด กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 25-60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแคบ ขอบใบเรียบ ขนเกลี้ยง ใบที่ออกตามลำต้นมีขนาดเล็ก

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกออกเป็นช่อ กลีบสีขาวรูปช้อน ก้านช่อยาว 2.5-4 เซนติเมตร ตั้งตรง หรือกางออก มักจะโค้ง กาบหุ้มดอกมี 2-10 อัน ซ้อนกันอยู่ที่ง่ามใบใกล้ยอด ยาว 12-16 มิลลิเมตร สีเขียว ดอกมีจำนวน 4-10 ดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 เซนติเมตร ถูกกาบหุ้มดอกหุ้มไว้ ดอกสีขาว มี 6 กลีบ กว้าง 1.5-3.5 เซนติเมตร รูปขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปช้อน เรียงเป็น 2 วง กลีบที่อยู่วงในมีขนาดเล็กกว่ากลีบวงนอก เกสรเพศผู้มี 3 อัน สีเหลืองสด ติดอยู่ที่โคนกลีบดอก ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูตั้งขึ้น รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียสีเหลืองแยกเป็นแขนงสั้นๆ 3 แขนง

ผล :

คำอธิบาย : รูปขอบขนาน หัวตัด มี 3 ช่อง เมล็ดรูปรี อัดกันแน่น

ราก :

คำอธิบาย :

TOP