มะม่วงหิมพานต์

มะม่วงหิมพานต์

ชื่อ มะม่วงหิมพานต์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anacardium occidentale
Author name L.
ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่ออื่นๆ มะม่วงสิโห (เชียงใหม่), มะโห (แม่ฮ่องสอน), มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์), มะม่วงเล็ดล่อ มะม่วงยางหุบ (ระนอง), กายี (ตรัง), ส้มม่วงทูนหน่วย มะม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี), กะแตแก (นราธิวาส), นายอ (ยะละ), ยาโงย
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์ ใบอ่อนรับประทานเป็นผัก เมล็ดเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมรับประทานเป็นอาหารทั่วไป
สรรพคุณทางยา ผล : เป็นยาบำรุงกำลัง ยาระบายอ่อนๆ แก้ลักกะปิดลักกะเปิด เนื้อในเมล็ด : แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้อาเจียน
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้ต้น

คำอธิบาย : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงโดยเฉลี่ย 6 เมตร (สามารถสูงได้ถึง 12 เมตร)

ลำต้น : เปลือกเรียบ

คำอธิบาย : เปลือกหนาผิวเรียบมีสีน้ำตาลเทา ลำต้นเนื้อไม้แข็ง มีกิ่งแขนงแตกออกเป็นพุ่มแน่นทรงกลม

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบสีเขียวเข้ม ขนาดแผ่นใบกว้าง 7.5-10 ซม. ยาว 7.5-20 ซม ใบเรียงเวียน ใบหนาเกลี้ยงเหมือนแผ่นหนัง ใบรูปไข่กลับ ปลายใบมนป้าน โคนใบสอบ เนื้อใบมีกลิ่นหอม

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ดอกออกเป็นช่อกระจาย สีแดงอมม่วงหรือสีครีม กลิ่นหอมเอียน ช่อดอกยาว 15-20 ซม. ดอกย่อยมีขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ เกสรผู้ 8-10 อัน มีหนึ่งอันที่ยาวกว่าอันอื่น

ผล : ผลสด

คำอธิบาย : ผลอ่อนมีสีเขียวหรือเหลืองอมชมพู แต่เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้มแดง ผลคล้ายผลชมพู่หรือลูกแพร์ ผลเป็นพวงห้อยลงมา ขนาดผลยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร เนื้อผลฉ่ำน้ำมีกลิ่นหอม ที่ปลายผลมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด มีลักษณะคล้ายรูปไต เปลือกนอกแข็งและยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีน้ำตาลอมเทา

ราก :

คำอธิบาย :

TOP