ยางนา
ชื่อ | ยางนา |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Dipterocarpus alatus |
Author name | Roxb. ex G.Don |
ชื่อวงศ์ | |
ชื่ออื่นๆ | กาตีล (เขมร-ปราจีนบุรี); ขะยาง (ชาวบน-นครราชสีมา); จ้อง (กะเหรี่ยง); จะเตียล (เขมร); ชันนา, ยางตัง (ชุมพร); ทองหลัก (ละว้า); ยาง, ยางขาว, ยางนา, ยางแม่น้ำ, ยางหยวก (ทั่วไป); ยางกุง (เลย); ยางควาย (หนอ |
ชื่อสามัญ | Yang |
แหล่งอ้างอิง | Yang |
การใช้ประโยชน์ | - ไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เมื่ออาบน้ำยาถูกต้องจะทนทานขึ้น น้ำมันใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ทำน้ำมันใส่แผล แก้โรคเรื้อน |
สรรพคุณทางยา | - เปลือก กินแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต และใช้ทาถูนวด (ขณะร้อนๆ) แก้ปวดตามข้อ - น้ำมันยาง รสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณห้ามหนองและสมานแผล ใช้ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองใน ใช้ยาเครื่องจักสาน ทาไม้ อุดเรือรั่ว และผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือทำไต้ - น้ำมันผสมกับเมล็ดกุยช่าย (Allium tuberosum Roxb.) คั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ใช้อุดฟันแก้ฟันผุ - น้ำมัน 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์กิน 2 ส่วน กินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว จิบเป็นยาขับเสมหะ |
ต้น : ไม้เลื้อย/ไม้เถา
คำอธิบาย : ไม้พุ่มกึ่งรอเลื้อย
ลำต้น :
คำอธิบาย : ลำต้นยาวถึง 5 เมตร แตกกิ่งก้านโปร่ง เปลือกสีน้ำตาลอมเหลือง กิ่งอ่อนมีขนรูปดาวสีน้ำตาลหนาแน่น
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ขอบเรียบ
ดอก : ดอกเดี่ยว
คำอธิบาย : ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด กลีบเลี้ยงสีเขียว 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่กว้าง ปลายมน มีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม กลีบดอก 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ มีขนปกคลุม กลีบชั้นนอกรูปไข่ กลีบชั้นในคล้ายกับกลีบนอก แต่มีขนาดเล็กกว่า สีเหลืองนวลมีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้จำนวนมาก
ผล :
คำอธิบาย : ผลกลุ่ม มีผลย่อยแบบผลมีเนื้อ 8-15 ผล รูปทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลือง มีเมล็ด 6-8 เมล็ด
ราก :
คำอธิบาย :