ว่านธรณีสาร
ชื่อ | ว่านธรณีสาร |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Phyllanthus pulcher |
Author name | Wall. ex Mull. Arg. |
ชื่อวงศ์ | PHYLLANTHACEAE |
ชื่ออื่นๆ | เสนียด (กรุงเทพมหานคร), กระทืบยอบ (ชุมพร), ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์), ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช), คดทราย (สงขลา) ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี), ก้างปลา (นราธิวาส), เดอก้อเนาะ (มลายู นรา |
ชื่อสามัญ | Tropical leaf-flower |
แหล่งอ้างอิง | Tropical leaf-flower |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ใบ : ลดไข้ รักษาแผลในปาก และขับลม ใช้พอกฝี บรรเทาอาการปวดบวมและคัน ต้น ต้มน้ำกินแก้ปวดท้อง เป็นยาล้างตา แก้ฝีอักเสบ ราก : แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซางเด็ก ขับลมในลำไส้ |
ต้น : ไม้พุ่ม
คำอธิบาย : ไม้พุ่มกึ่งยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 1-1.5 เมตร
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : ลำต้นตั้งตรง แผ่กิ่งก้านที่บริเวณใกล้ปลายยอด เปลือกต้นเรียบ เป็นสีน้ำตาล ลำต้นกลม มีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มที่กิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่นเกลี้ยง
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแน่นระนาบเดียว บริเวณปลายยอด ประมาณ 15-30 คู่ ในแต่ละกิ่งย่อย แผ่นใบรูปขอบขนานเบี้ยว หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.8-1.3 เซนติเมตร ยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ ปลายสุดมีติ่งแหลมเล็ก แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน แผ่นใบแผ่ และบาง หลังใบสีเขียว ด้านท้องใบสีเทาแกมเขียว เส้นใบข้าง 6-8 คู่ ก้านใบสั้น ยาว 0.8-1.5 มิลลิเมตร ก้านมีสีแดงเล็กน้อย หูใบรูปหอกแกมสามเหลี่ยม ขนาด 3-4 × 1.5-2 มิลลิเมตร สีน้ำตาลแดง
ดอก : ดอกเดี่ยว
คำอธิบาย : ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีแดงเข้ม และเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับมีขนนุ่มที่ฐาน ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นกระจุกตามซอกใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ โคนสีแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน ก้านชูสั้น เชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ กลีบเลี้ยงมีสีแดงเข้ม ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ดอกเพศเมียจะออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกจะห้อยลง เรียงกันอยู่หนาแน่นตามใต้ท้องใบ กลีบดอกเพศเมียมี 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่
ผล :
คำอธิบาย : ผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวผลเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาลอ่อน ก้านผลยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงติดอยู่คงทน ผลจะออกเรียงเป็นแนว ดูเป็นระเบียบอยู่ใต้ใบ
ราก :
คำอธิบาย :