พังแหรใหญ่ (พันธุ์ไม้ปกปัก)
ชื่อ | พังแหรใหญ่ (พันธุ์ไม้ปกปัก) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Trema orientalis |
Author name | (L.) Blume |
ชื่อวงศ์ | CANNABACEAE |
ชื่ออื่นๆ | กีกะบะซา, บาเละอางิง (มาเลย์-นราธิวาส), ขางปอยป่า, ปอแฮก (เหนือ), ตะคาย (กลาง), ตายไม่ทันเฒ่า (ยะลา), ปอ (เชียงใหม่), พังแกรใหญ่ (ยะลา), พังแหร (แพร่) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | 1.เนื้อไม้ อ่อนและเบาเลื่อยไสกบตกแต่งง่าย แต่ไม่ทนทาน บางทีใช้ทำไม้ขีดไฟ กล่องขา 2.ใบแก่ ใช้เป็นอาหารสัตว์ 3.ผล เป็นอาหารนก |
สรรพคุณทางยา | - |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูงได้ถึง 18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : เปลือกสีเขียวอมเทาหรือน้ำตาลอมเทา เกลี้ยงถึงแตกเป็นร่องละเอียด
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว รูปไข่แคบถึงรูปหอก ปลายเรียวแหลมสั้น โคนกลมรูปหัวใจ อาจเบี้ยวเล็กน้อย ขอบจัก ซี่ฟันละเอียด ยอดอ่อนมีขนสีเงินแน่น ใบแก่คล้ายหนังบางสีเขียวเข้มขุ่น มีขนหยาบกระจาย ด้านบน ด้านล่างสีเทาอ่อน มีขนรูปดาว
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกสีขาวหรือออกเขียว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อบนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้กลมออกเป็นช่อแน่นแตกแขนงตามง่ามใบหรือตามกิ่งใต้ง่ามใบ มักออกเป็นคู่ ช่อหนึ่งมีดอก 20 -100 ดอก ปลายแหลมติดใบประดับ กลีบรวม 4-5 กลีบ รูปใบหอก เกสรเพศผู้ 4-5 อัน ติดตรงกับกลีบดอก ดอกเพศเมียรูปไข่ออกเป็นช่อหลวม มีดอก 5-20 กลีบรวมคล้ายเพศผู้ เกสรเพศเมียเล็กเรียวมี 2 ก้าน แยกกันหรือเชื่อมกันที่โคน
ผล :
คำอธิบาย : รูปไข่หรือรูปเลนส์ (แบนเล็กน้อยเมื่อตัดขวาง) มีก้านเกสรเพศเมียเหี่ยวติดแน่นที่ปลาย กลีบรวมไม่ขยายใหญ่ขึ้น ที่โคนเกลี้ยง สีเขียวเข้มเมื่อสุกสีจะแดงถึงม่วง
ราก :
คำอธิบาย : -