ประดู่
ชื่อ | ประดู่ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Pterocarpus macrocarpus |
Author name | |
ชื่อวงศ์ | Fabaceae |
ชื่ออื่นๆ | ดู่ หรือ ดู่ป่า (ภาคเหนือ) ฉะนอง (เชียงใหม่) จิต๊อก (ไทใหญ่-แม่ฮ่องสอน) เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ประดู่ หรือ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่เสน (สระบุรี ราชบุรี) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | ประดู่มีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง |
สรรพคุณทางยา | 1.เปลือกต้นมีรสฝาดจัด มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย 2.ผลมีรสฝาด เป็นยาแก้อาเจียน 3.ใบและดอก ทำให้ฝีสุกเร็ว แก้ผดผื่นคัน น้ำคั้นจากใบใช้สระผม 4.รากและยาง แก้ปากเปื่อย ปากแตก แก้ท้องเสีย แก้โรคบิด |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ลำต้นสูง 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้าอย่างประดู่บ้าน[8]
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : เปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่อง ลึก มีนํ้ายางมาก
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเยื้องสลับกัน 4-10 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนมน
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม มีกลิ่นคล้ายดอกซ่อนกลิ่น ออกเป็นช่อยาว 10-20 เซนติเมตร ตามง่ามใบ ดอกจะออกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่แตกกิ่งก้านแขนงมากอย่างประดู่บ้าน(แต่ดอกจะบานแค่หนึ่งถึงสองวันเท่านั้น)
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : ผลมีลักษณะเหมือนรูปโล่แบนบาง ตรงกลางนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร ผลใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก และมีขนปกคลุมทั่วไป การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ราก :
คำอธิบาย : รากหยั่งลึก และแพร่กว้าง ช่วยยึดหน้าดินไม่ให้พังทะลายได้