จันทนา

จันทนา

ชื่อ จันทนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarenna hoaensis
Author name Pit.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่ออื่นๆ จันตะเนี้ย (เขมร ตะวันออก), จันทน์ขาว จันทน์ใบเล็ก (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์หอม (ระยอง)
ชื่อสามัญ -
แหล่งอ้างอิง -
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณทางยา แก่น : มีรสขม หวาน ช่วยบำรุงประสาท แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ตับ ปอดพิการ ขัยพยาธิ ผล : มีรสฝาดหวาน แก้อาการนอนไม่หลับ แก้ท้องเสีย บำรุงประสาท
ต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
ราก

ต้น : ไม้พุ่ม

คำอธิบาย : ไม้พุ่มขนาดกลาง สูงถึง 5 เมตร กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น

ลำต้น : เปลือกเรียบ

คำอธิบาย : ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ

ใบ : ใบเดี่ยว

คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน รูปรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนมีหางแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน หลังใบและท้องใบเกลี้ยง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานแคบปลายเรียวแหลม

ดอก : ดอกช่อ

คำอธิบาย : ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกประมาณ 8-12 ดอก กลีบดอกเป็นสีขาว โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายจะแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนปลายกลีบม้วนลง ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองติดอยู่ข้างในผนังหลอด

ผล :

คำอธิบาย : รูปทรงกลมรี สีเขียวเข้มและฉ่ำน้ำ พอแก่จะเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนประมาณ 1-2 เมล็ด

ราก :

คำอธิบาย :

TOP