ช้างน้าว
ชื่อ | ช้างน้าว |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ochna integerrima |
Author name | (Lour.) Merr. |
ชื่อวงศ์ | OCHNACEAE |
ชื่ออื่นๆ | กระแจะ (ระนอง), ตาลเหลือง (เหนือ), แง่ง (บุรีรัมย์), ตานนกกรด (นครราชสีมา), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ฝิ่น (รบ), กระโดงแดง กำลังช้างสาร (ภาคกลาง), ควุ (กะเหรี่ยง นครสวร |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ผล : เป็นยาบำรุงร่างกาย เปลือกต้น : ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ไข้ ช่วยเจริญอาหาร เนื้อไม้ : แก้โลหิตพิการ ดับพิษร้อนในร่างกาย ราก : เป็นยาแก้เบาหวาน บำรุงระบบย่อยอาหาร เป็นยาขับพยาธิ แก้โรคน้ำเหลืองเสีย ลำต้น : เป็นยาแก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว |
ต้น : ไม้พุ่ม
คำอธิบาย : ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูงได้ถึง 12 เมตร
ลำต้น : เปลือกแตก
คำอธิบาย : ลำต้นมักคดงอ เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องลึก ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาแข็งและแหลม
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักพบเรียงชิดกันเป็นกลุ่ม ที่ปลายกิ่ง ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2.5-5.5 ซม. ยาว 12-17 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม พบบ้างที่ปลายมน โคนแหลมหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่ ผิวใบเรียบ เส้นใบข้าง 7-15 คู่ หักโค้งงอ และมีเส้นระหว่างกลาง ไม่จรดกัน ก้านใบ ยาว 2-3 มม. ใบแก่เขียวหม่น เหนียวเหมือนแผ่นหนัง มีหูใบเล็กๆ หลุดร่วงง่าย ทิ้งร่องรอยไว้บนกิ่งก้าน
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ซอกใบและใกล้ปลายกิ่งที่ไม่มีใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกประมาณ 4-8 ดอก กลีบดอกสีเหลืองสด กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีแดง รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน
ผล : ผลสด
คำอธิบาย : ผลเป็นผลสด มีลักษณะค่อนข้างกลม ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนสีดำ ผิวผลมัน กลีบเลี้ยงสีแดงสดที่เจริญตามมารองรับ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
ราก :
คำอธิบาย :