รางจืด
ชื่อ | รางจืด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Thunbergia laurifolia |
Author name | Lindl. |
ชื่อวงศ์ | ACANTHACEAE |
ชื่ออื่นๆ | กำลังช้างเผือก , ขอบชะนาง , เครือเขาเขียว , ยาเขียว (ภาคกลาง) ,รางเย็น (ยะลา) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ใบ : คั้นน้ำกินแก้ไข้ และถอนพิษ รสเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียว รับประทานเป็นยาถอนพิษ ทำให้ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไข้แก้พิษ กระทุ้งพิษไข้หัว เถาและราก : รับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษร้อนทั้งปวง |
ต้น : ไม้พุ่ม
คำอธิบาย : ไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : ลำต้นหรือเถากลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกออกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกสีม่วงอมฟ้า มีใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกเป็นรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีน้ำหวานบรรจุอยู่ภายในหลอด กลีบดอกมีปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 อัน
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : ผลรางจืด ลักษณะเป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก
ราก :
คำอธิบาย :