มะแว้งต้น
ชื่อ | มะแว้งต้น |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Solanum sanitwongsei |
Author name | Craib |
ชื่อวงศ์ | SOLANACEAE |
ชื่ออื่นๆ | แว้งคม (สุราษฎร์ธานี, สงขลา), มะแคว้ง มะแคว้งขม มะแคว้งคม มะแคว้งดำ (ภาคเหนือ), หมากแข้ง หมากแข้งขม (ภาคอีสาน), มะแว้ง มะแว้งต้น (ทั่วไป), สะกังแค สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากแฮ้งคง (เงี้ยว-แ |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ผล : มีรสขม ขื่น เปรี้ยว เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ เป็นยาเจริญอาหาร ราก : แก้ไขสันนิบาต แก้ไอ กัดเสมหะ ขับลม และแก้คัน |
ต้น : ไม้เลื้อย/ไม้เถา
คำอธิบาย : ไม้เถา สูงถึง 1.5 เมตร
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : ลำต้นมีขนาดเล็กและกลม เนื้อแข็ง สีเขียวอมเทา แตกกิ่งก้าน ทั้งต้นมีขนนุ่มสีเทาขึ้นปกคลุม และมีหนามแหลมขึ้นกระจายอยู่ทั่วต้น เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี ปลายใบแหลมเล็กน้อย โคนใบมน ส่วนขอบใบหยักเว้ามนเข้าหาเส้นกลางใบและมีคลื่นเล็กน้อย หลังใบ ท้องใบ และก้านใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุม ท้องใบจะมีขนหนาแน่น หลังใบมีหนามสั้น ๆ ก้านใบยาว
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ออกดอกเป็นกระจุกตามซอกใบหรือปลายกิ่งประมาณ 3-6 ดอก ดอกเป็นสีม่วงอ่อนเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 ก้าน เชื่อมติดกันกับโคนกลีบดอก ปลายกลีบดอกจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก ปลายแหลม คล้ายรูปดาว ก้านดอกมีหนามเป็นตุ่มเล็ก ๆ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก 5 แหลม ปลายแหลม ด้านนอกมีขน
ผล :
คำอธิบาย : รูปทรงกลม ผิวผลเรียบเกลี้ยงและมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียวหรือสีขาวไม่มีลาย ส่วนผลสุกเป็นสีแดงส้มหรือเป็นสีเหลืองอมส้ม
ราก :
คำอธิบาย :