ตะไคร้
ชื่อ | ตะไคร้ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cymbopogon citratus |
Author name | (DC.) Stapf |
ชื่อวงศ์ | POACEAE |
ชื่ออื่นๆ | คาหอม (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน), จะไคร (ภาคเหนือ), เซิดเกรย เหลอะเกรย (เขมร สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), หัวสิงไค (เขมร ปราจีนบุรี), ไคร (ภาคใต้) |
ชื่อสามัญ | Lapine |
แหล่งอ้างอิง | Lapine |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | โคนกาบใบและลำต้น เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด ทำให้เจริญอาหาร เหง้า เป็นยาแก้ขัดปัสสาวะ แก้นิ่ว |
ต้น : ไม้ล้มลุก
คำอธิบาย : ไม้ล้มลุก ประเภทหญ้า อายุหลายปี สูงประมาณ 0.7 – 1.0 เมตร
ลำต้น :
คำอธิบาย : เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ลำต้นเป็นกอใหญ่มีข้อเห็นชัดเจน ข้อและปล้องสั้นมาก มีไขปกคลุมตามข้อ ลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก ยาว แข็ง และเกลี้ยง
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แคบยาว กว้าง 1 - 2 ซม. ยาว 70 - 100 ซม. ลักษณะใบรูปใบหอกแกมรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบสากคม มีขนเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียวเป็นกาบซ้อนกัน กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น แผ่นใบสีเขียว มีเส้นใบขนานตามยาว สีขาวนวล เส้นกลางใบแข็ง ผิวใบสากทั้งสองด้าน มีกลิ่นหอมเฉพาะ
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ที่ปลายยอด มีช่อดอกย่อย 1 – 12 ช่อ และมีใบประดับรองรับ ช่อดอกย่อยแบนออกเป็นคู่ ช่อหนึ่งไม่มีก้าน และอีกช่อหนึ่งมีก้าน มีรังไข่แบบเหนือวงกลีบ
ผล : ผลแห้ง
คำอธิบาย : ผลแห้งแบบธัญพืช เมล็ดเดี่ยว
ราก :
คำอธิบาย :