กำแพงเจ็ดชั้น
ชื่อ | กำแพงเจ็ดชั้น |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Salacia chinensis |
Author name | L. |
ชื่อวงศ์ | CELASTRACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ตะลุ่มนก (ราชบุรี), ตาไก้ (พิษณุโลก), น้ำนอง มะต่อมไก่ (ภาคเหนือ), สามชั้น (เลย), หลุมนก (ภาคใต้) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ต้น : ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย เป็นยาระบาย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวงและรากปอด่อน) รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก) แก้หืด (ผสมกับแก่นพลับพลา แก่นโมกหลวง ต้นสบู่ขาว ต้นพลองเหมือด แก่นจำปา และต้นคำรอก) แก้เบาหวาน (ผสมกับรากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู แก่นสัก และหญ้าชันกาดทั้งต้น) |
ต้น : ไม้เลื้อย/ไม้เถา
คำอธิบาย : ไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง สูงถึง 6 เมตร
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : เปลือกต้นเรียบ มีสีเทานวล ด้านในเนื้อไม้มีวงปีเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นได้ชัดเจน เรียงซ้อนกันอยู่ประมาณ 7-9 ชั้น
ใบ : ใบเดี่ยว
คำอธิบาย : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันสลับตั้งฉาก รูปวงรี รูปวงรีกว้าง รูปวงรีแกมใบหอก รูปไข่ หรือรูปไข่หัวกลับ ปลายใบแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบเป็นหยักหยาบ ๆ แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ช่อดอกแบบช่อกระจุกหรือช่อแยกแขนงสั้น ๆ ออกตามซอกใบหรือกิ่งก้าน ขนาดเล็ก สีเหลืองหรือสีเขียวอมเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบมนและบิดเล็กน้อย แกนดอกนูนเป็นวงกลม มี 3-6 ดอกในแต่ละช่อ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้างหรือรูปรี และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ นาดเล็กมาก ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายมนกลม ที่ขอบเป็นชายครุย
ผล :
คำอธิบาย : ผลค่อนข้างกลม รูปกระสวยกว้างหรือรูปรี ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีแดงอมส้ม ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะกลม
ราก :
คำอธิบาย :