เพกา
ชื่อ | เพกา |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Oroxylum indicum |
Author name | (L.) Benth. Ex Kurz |
ชื่อวงศ์ | BIGNONIACEAE |
ชื่ออื่นๆ | กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี), ดุแก ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), เบโก (มลายู นราธิวาส), มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิดไม้ หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (เงี้ยว ภาคเหนือ), ลิ้นฟ้า (เลย) |
ชื่อสามัญ | Broken bones tree, Damocles tree, Indian trumpet flower |
แหล่งอ้างอิง | Broken bones tree, Damocles tree, Indian trumpet flower |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ทั้งต้น : ช่วยสมานแผล แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ เมล็ด :เป็นยาถ่าย แก้ไอ ขับเสมหะ ฝักอ่อน : ช่วยเจริญอาหาร ขับผายลม ฝักแก่ : แก้ร้อนในกระหายน้ำ |
ต้น : ไม้ต้น
คำอธิบาย : ไม้ต้น กึ่งผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ สูง 5-12 เมตร
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลครีมอ่อน หรือเทาอ่อน เมื่อแก่จะมีรอยแผลเป็น จากการหลุดร่วงของใบ
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ปลายคี่ เรียงตรงข้ามกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายยาว ขอบใบเรียบ ฐานใบสอบแคบ ใบเกลี้ยง หรือมีขนสีขาวสั้นๆ ด้านล่าง ท้องใบนวล
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ดอกช่อขนาดใหญ่แบบกระจะ ออกที่ปลายยอดเป็นกระจุก มีดอกย่อย 20-35 ดอก กลีบดอกสีนวลแกมเขียวโคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หรือม่วงด้านนอก ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นสาบฉุน และร่วงตอนเช้า มักจะมีดอกและผลในกิ่งเดียวกัน
ผล :
คำอธิบาย : ผลเป็นฝักแบน โค้งเล็กน้อยที่ฐาน มีสันเล็กๆที่ด้านข้าง คล้ายรูปลิ้น ห้อยอยู่เหนือเรือนยอด สีน้ำตาลเข้ม สีแดง ติดฝักยาก ฝักเป็นรูปดาบ เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
ราก :
คำอธิบาย :