ประยงค์
ชื่อ | ประยงค์ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Aglaia odorata |
Author name | Lour. |
ชื่อวงศ์ | MELIACEAE |
ชื่ออื่นๆ | ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม (ภาคเหนือ), ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง), หอมไกล (ภาคใต้) |
ชื่อสามัญ | - |
แหล่งอ้างอิง | - |
การใช้ประโยชน์ | |
สรรพคุณทางยา | ราก : กินเป็นยาทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ใบ, ก้าน : พอกแก้ฟกช้ำ รักษาแผลฝีหนอง ดอก : แก้ร้อนดับกระหาย แก้อึดอัดแน่นหน้าอก แก้เวียนศีรษะ |
ต้น : ไม้พุ่ม
คำอธิบาย : ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มทึบค่อนข้างกลม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตรและสูงไม่เกิน 5 เมตร
ลำต้น : เปลือกเรียบ
คำอธิบาย : ลำต้นแตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา
ใบ : ใบประกอบ
คำอธิบาย : ใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5 ใบ (บางใบอาจมีใบย่อยเพียง 3 ใบ) ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบแผ่ออกเป็นปีก
ดอก : ดอกช่อ
คำอธิบาย : ช่อดอกเป็นช่อสั้น ๆ ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อดอกประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กมากกว่า 10 ดอก ดอกย่อยเป็นสีเหลืองและมีกลิ่นหอมแรง ลอยไปได้ไกล (แม้ดอกแห้งก็ยังมีกลิ่นหอมอยู่) มีกลีบดอก 6 กลีบ กลีบดอกซ้อนกันไม่บานออก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมเล็กคล้ายไข่ปลาสีเหลือง สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตลอดทั้งวัน
ผล :
คำอธิบาย : รูปทรงกลมรี มีขนาดประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเหลืองอ่อน เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มเกือบดำ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล 1-2 เมล็ด
ราก :
คำอธิบาย :